Thursday, October 7, 2010

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ จังหวัดน่าน

อุทยานแห่งชาติศรีน่าน

มีพื้นที่ประมาณ ๖๔๐,๒๓๗.๕๐ ไร่ หรือ ๑,๐๒๓.๓๘ ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย และอำเภอนาหมื่น เทือกเขาสลับซับซ้อนที่วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ ขนานกันทั้งทางทิศตะวันตกและตะวันออกแบ่งพื้นที่ออกเป็นฝั่งตะวันตกและฝั่ง ตะวันออก สองฝั่งแม่น้ำเป็นป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ในเดือนกุมภาพันธ์จะเห็นป่าเปลี่ยนสีสวยงามมาก ในเขตเทือกเขาประกอบด้วยป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าสนเขา พบสัตว์ป่าหายากหลายชนิด เช่น นกยูงซึ่งมีอยู่หลายฝูง เสือดาว เสือดำ หมี กวาง หมาป่า และหมาใน มีสัตว์ป่าหลายชนิดที่สำคัญ คือ ช้างป่า วัวแดง และกระทิง ซึ่งจะอพยพไปมาระหว่างเขตติดต่อประเทศไทย-ลาว

สถานที่น่าสนใจในอุทยาน ได้แก่
แก่งหลวง ห่างจากอำเภอนาน้อยประมาณ ๓๕ กิโลเมตร เส้นทางเข้าถึงแก่งหลวงลำบากมาก เป็นเกาะแก่งตามธรรมชาติ เกิดจากกระแสน้ำแม่น้ำน่าน ไหลผ่านโขดหินที่กระจายอยู่กลางแม่น้ำ ในหน้าน้ำจะได้ยินเสียงน้ำกระทบโขดหินดังกึกก้อง ยามหน้าแล้งจะมองเห็นแนวโขดหิน และหาดทรายสีขาวเป็นแนวยาวตามริมฝั่งแม่น้ำน่าน สามารถลงเล่นน้ำได้ช่วงหน้าแล้งเดือนเมษายนเท่านั้น เพราะหน้าฝนน้ำจะเชี่ยวมากและเป็นอันตรายอาจทำให้จมน้ำได้

ดอยผาชู้ บริเวณเชิงผาชู้เป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานฯ มีลักษณะเป็นผาหินขนาดใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่ท่ามกลางขุนเขา ในฤดูหนาวสามารถมองเห็นทะเลหมอกได้จากยอดผาชู้ และเมื่อหมอกจางจะมองเห็นลำน้ำน่านทอดตัวคดเคี้ยวอยู่ที่ปลายผืนป่า เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้น และลำน้ำน่านที่ทอดตัวคดเคี้ยวสวยงามมาก ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ช่วงใกล้ขึ้นถึงยอดผาเป็นหินแหลมคม จึงต้องเตรียมรองเท้าผ้าใบที่ใส่กระชับไปด้วยเพื่อความสะดวกในการปีนป่าย ใช้เวลาในการเดินไป-กลับ ประมาณ 1 ชั่วโมง ผู้ที่ประสงค์จะเดินขึ้นยอดผาชู้ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางที่อุทยานฯ

จุดเด่น เป็นสถานที่ตั้งสายธงชาติที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ต้องร้องเพลงชาติประมาณ 12 จบ กว่าจะเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา สายธงชาตินี้มีความยาวประมาณ 200 เมตร จากพื้นถึงยอดผาชู้

ตามตำนานที่เล่ากันมาเกี่ยวกับผาชู้กล่าวว่า เจ้าเอื้องผึ้งซึ่งเป็นคู่รักกับเจ้าจันทน์ผา จำใจต้องแต่งงานกับเจ้าจ๋วง เจ้าเอื้องผึ้งเสียใจที่ไม่ได้แต่งงานกับคนที่ตนเองรักจึงตัดสินใจฆ่าตัวตาย ด้วยการกระโดดจากหน้าผาเจ้าจันทน์ผาตามมาพบว่าเจ้าเอื้องผึ้งได้กระโดด หน้าผาไปแล้ว จึงกระโดดหน้าผาฆ่าตัวตายตามคนรักตกไปอยู่ใกล้กัน และเจ้าจ๋วงได้เห็นหญิงที่ตนรักกระโดดหน้าผาไปจึงรู้สึกเสียใจและตัดสินใจ กระโดดหน้าผาตามลงไปด้วยแต่กระเด็นห่างออกไป ด้วยความรักแท้ระหว่างเจ้าเอื้องผึ้งและเจ้าจันทน์ผา ในชาติต่อมาเจ้าเอื้องผึ้งจึงเกิดเป็นดอกกล้วยไม้เกาะอยู่ใต้ต้นจันทน์ผา และเจ้าจ๋วงก็เกิดเป็นต้นสน ณ จุดที่ตกไปนั้นเอง (“จ๋วง” เป็นภาษาเหนือแปลว่าต้นสน “เอื้องผึ้ง” แปลว่ากล้วยไม้) หน้าผาแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า “ผาชู้” นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ผาหัวสิงห์และดอยเสมอดาว อยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 16 สายนาน้อย-ปางไฮ เป็นจุดชมทิวทัศน์บนยอดหน้าผาสูง สามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้ 360 องศา มีพื้นที่เป็นลานกว้างตามสันเขา สำหรับพักผ่อนและดูดาว ดูพระอาทิตย์ตกและยังเป็นจุดชมทะเลหมอกอีกด้วย หากจะเดินขึ้นไปบนผาสิงห์ (เป็นหน้าผาที่มีรูปร่างคล้ายหัวสิงห์) ระยะทาง 2 กิโลเมตร ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางจากอุทยานฯ ระหว่างทางจะพบต้นจันทน์ผาซึ่งเป็นไม้เด่น และเมื่อท้องฟ้าแจ่มใส จากผาสิงห์สามารถมองเห็น อำเภอนาน้อย อำเภอเวียงสา และแม่น้ำน่านได้

ทิวทัศน์ทั้งสองฝั่งแม่น้ำน่าน แม่น้ำทอดตัวผ่านกลางพื้นที่อุทยานฯ ตั้งแต่เหนือสุดถึงใต้สุดยาวกว่า 60 กิโลเมตร สามารถล่องเรือ ล่องแพ ชมธรรมชาติสองฝั่งแม่น้ำน่าน จะเห็นทิวทัศน์ เกาะแก่ง โขดหิน หาดทราย หน้าผา สภาพป่าที่เขียวขจีและสัตว์ป่านานาชนิดต่าง ๆ มากมาย มีจุดเด่นที่น่าสนใจ ผาง่าม เป็นหน้าผาขนาดใหญ่ ตั้งโดดเด่นอยู่กลางป่าเขาที่เขียวขจี ผาขวาง เป็นหน้าผาขนาดใหญ่ ตั้งขวางอยู่กลางแม่น้ำน่าน สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ สองฝั่งแม่น้ำน่าน ที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาเกี่ยวกับระบบธรรมชาติวิทยา

ปากนาย ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลนาทะนุง อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน ห่างจากตัวอำเภอ 27 กิโลเมตร ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 63 กิโลเมตร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดน่าน มีลักษณะเกิดจากสภาพป่าที่ถูกน้ำเหนือเขื่อนสิริกิติ์ท่วมถึง เป็นแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดของจังหวัดน่านมีทิวทัศน์สวยงาม สามารถนั่งเรือชมธรรมชาติ มีเรือนแพของชาวประมงไว้บริการนักท่องเที่ยวด้วย มีเส้นทางข้ามไปจังหวัดอุตรดิตถ์ได้จึงมีนักท่องเที่ยวเดินทางผ่านเพื่อแวะ ชมและพักค้างคืนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากต่างจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง

เสาดินนา น้อย หรือ ฮ่อมจ๊อม เกิดจากการกัดเซาะพังทลายของดินเป็นบริเวณกว้างกว่า 20 ไร่ ลักษณะคล้ายแพะเมืองผีของจังหวัดแพร่ แต่มีความสวยกว่า และจะมีการพังทลายของดินเปลี่ยนแปลงรูปไปทุก ๆ ปี เป็นเสาดินมีลักษณะแปลกตา เกิดจากการพังทลายของดิน ประกอบกับการกัดเซาะของน้ำและลมตามธรรมชาติ พื้นที่กว้างประมาณ 50 ไร่ ลักษณะภูเขาดินที่ถูกกัดเซาะให้สึกกร่อนพังทลายให้ปรากฏแท่งดินผสมหินลูกรัง ปนดินแดง มีผลกระทบต่อระบบนิเวศ คือ ตะกอนดินจะไหลลงสู่แม่น้ำลำธาร ทำให้เกิดการตื้นเขินได้ เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2538 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จนำคณะอาจารย์และนักเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เพื่อทัศนศึกษาลักษณะภูมิประเทศ ธรณีวิทยา โบราณวัตถุที่ค้นพบบริเวณเสาดินนาน้อย เสาดินนาน้อยอยู่ในพื้นที่ตำบลเชียงของ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติศรีน่าน มีระยะทางห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 24 กิโลเมตร การเดินทางจากอำเภอนาน้อยใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1083 ไปประมาณ 3 กิโลเมตร มีทางแยกเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร

คอกเสือ อยู่ห่างจากเสาดินนาน้อยประมาณ 800 เมตร ถ้ามาจากนาน้อยจะเห็นคอกเสืออยู่ทางด้านขวามือ ก่อนถึงเสาดินนาน้อย 500 เมตร มีลักษณะคล้ายกับเสาดินนาน้อยแต่ขนาดย่อมกว่า ลักษณะเป็นหลุมลึกที่เกิดจากการกัดเซาะพังทลายของดิน ในสมัยก่อนชาวบ้านเล่าว่า “ ในบริเวณนี้มีเสืออาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และจะมาขโมยเอาวัว ควาย และหมูของชาวบ้านที่เลี้ยงไว้กินเป็นอาหาร ชาวบ้านจึงรวมกำลังไล่ต้อนเสือให้ตกลงไปในบ่อดินดังกล่าว แล้วใช้ก้อนหินและไม้แหลมขว้างและทิ่มแทงเสือจนตาย เขาจึงเรียกบริเวณนี้ว่า "คอกเสือ" หมายเหตุ: ในช่วงหน้าฝนไม่แนะนำให้นักท่องเที่ยวเดินทางไป เนื่องจากสภาพถนนเป็นดินลูกรัง

บ้านพักและสิ่งอำนวยความสะดวก มีบ้านพักรับรองนักท่องเที่ยว จำนวน 3 หลัง และเต็นท์พื้นที่กางเต็นท์ จำนวน 3 จุด ได้แก่ บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติศรีน่าน (ดอยผาชู้) บริเวณดอยเสมอดาวและผาหัวสิงห์ บริเวณลานป่าสน (ดอยผาชู้) แต่ต้องเตรียมอาหารไปเอง ติดต่อและสอบถามรายละเอียดได้ที่ อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ตู้ปณ. 14 ตำบลศรีสะเกษ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน 55150 โทร. 0 5470 1106, 08 1224 0800, ดอยผาชู้ หมู่ ที่ 9 ตำบลศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน 55150 โทร. 0 5470 1160 E-mail: Srinan_13@hotmail.com, ป่าไม้จังหวัดน่าน โทร. 0 5471 0815 กด 18 หรือกรมอุทยานแห่งชาติฯ โทร. 0 2562 0760 www.dnp.go.th

ผาชู้ หรือ ผาเชิดชู

ผาชู้ หรือ ผาเชิดชู บริเวณเชิงผาชู้เป็นจุดที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ในช่วงฤดูหนาวจะสามารถมองเห็นทะเลหมอกได้จากยอดผาชู้ และเมื่อหมอกจางจะมองเห็นลำน้ำน่านทอดตัวคดเคี้ยวอยู่ที่ปลายผืนป่า หากจะขึ้นไปชมต้องขึ้นแต่เช้ามืดก่อนพระอาทิตย์ขึ้นระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ช่วงใกล้ขึ้นถึงยอดจะเป็นหินแหลมคม จึงต้องเตรียมรองเท้าผ้าใบที่ใส่กระชับไปด้วยเพื่อความสะดวกในการปีนป่าย ใช้เวลาในการเดินประมาณ 1 ชั่วโมง ผู้ที่ประสงค์จะเดินขึ้นยอดผาชู้ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางที่อุทยานแห่ง ชาติศรีน่าน ตู้ ปณ.14 อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน 55150
ตามตำนานที่เล่ากันมาเกี่ยวกับผาชู้กล่าวว่า เจ้าเอื้องผึ้งซึ่งเป็นคู่รักกับเจ้าจันทน์ผา จำใจต้องแต่งงานกับเจ้าจ๋วง เจ้าเอื้องผึ้งเสียใจที่ไม่ได้แต่งงานกับคนที่ตัวเองรักจึงตัดสินใจฆ่าตัว ตายด้วยการกระโดดจากหน้าผา เจ้าจันทน์ผาตามมาพบว่าเจ้าเอื้องผึ้งได้กระโดดหน้าผาไปแล้ว จึงกระโดดหน้าผาฆ่าตัวตายตามคนรักตกไปอยู่ใกล้กัน และเจ้าจ๋วงได้เห็นหญิงที่ตนรักกระโดดหน้าผาไปจึงรู้สึกเสียใจและตัดสินใจ กระโดดหน้าผาตามลงไปด้วยแต่กระเด็นห่างออกไป ด้วยความรักแท้ระหว่างเจ้าเอื้องผึ้งและเจ้าจันทน์ผา ในชาติต่อมาเจ้าเอื้องผึ้งจึงเกิดเป็นดอกกล้วยไม้เกาะอยู่ใต้ต้นจันทน์ผา และเจ้าจ๋วงก็เกิดเป็นต้นสน ณ จุดที่ตกไปนั้นเอง ( “จ๋วง” เป็นภาษาเหนือแปลว่าต้นสน “เอื้องผึ้ง” แปลว่ากล้วยไม้) หน้าผาแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า “ผาชู้” นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

อุทยานแห่งชาติดอยภูคา

ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 7 ประจำปี 2551 ประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติภาคเหนือ มีพื้นที่ทั้งหมด 1,065,000 ไร่ หรือ ประมาณ 1,704 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 8 อำเภอในจังหวัดน่าน คือ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอท่าวังผา อำเภอปัว อำเภอเชียงกลาง อำเภอทุ่งช้าง อำเภอบ่อเกลือ อำเภอสันติสุข และอำเภอแม่จริม ป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ประกอบด้วยป่า 6 ประเภท ได้แก่ ป่าดงดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าสนธรรมชาติ และทุ่งหญ้า เป็นแหล่งของพันธุ์ไม้หายากใกล้สูญพันธุ์และพรรณไม้เฉพาะถิ่น ได้แก่ ต้นชมพูภูคา (Bretschneidera sinensis Hemsl.) ซึ่งเป็นพืชหายากในประเทศไทยจะพบเพียงแห่งเดียวที่ป่าอุทยานแห่งชาติดอยภูคา เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูงถึง 25 เมตร ออกดอกเดือนมกราคม-ต้นมีนาคม ในเขตป่าดิบเป็นแหล่งกำเนิดต้นเต่าร้างยักษ์ เป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่นของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา เป็นปาล์มลำต้นเดียวปาล์มดึกดำบรรพ์ มีความสูงประมาณ 40 เมตร ก่วมภูคาเป็นพืชหายาก ลักษณะไม้ต้นผลัดใบ มีความสูง 15-25 เมตร ใบอ่อนสีแดงเว้าเป็น 5 แฉก ใบแก่สีเขียว 3 แฉก เป็นพืชวงศ์เดียวกับเมเปิ้ลใบห้าแฉก และกระโถนพระฤาษี เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งนกเฉพาะถิ่นที่หายาก คือ นกมุ่นรกตาแดง นกพญาไฟใหญ่ และนกพงใหญ่พันธุ์อินเดีย เทือกเขาดอยภูคาประกอบด้วยแนวภูเขาสูงสลับซับซ้อน ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของปลายเทือกเขาหิมาลัย โดยมียอดภูคาเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของจังหวัดน่าน สูงถึง 1,980 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ดอยภูคาเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำน่าน ลำน้ำปัว และลำน้ำว้า บริเวณนี้เดิมเคยเป็นทะเลมาก่อน ก่อนจะเกิดการเคลื่อนตัวของแผ่นดินสองผืนใต้ทะเลเข้าหากัน ทำให้แผ่นดินโก่งตัวขึ้น น้ำทะเลใต้ดินระเหยไปเหลือเพียงสินแร่เกลือ ดังที่พบในอำเภอบ่อเกลือ และการค้นพบสุสานหอยทะเลอายุประมาณ 200 ล้านปี บนดอยภูแวที่บ้านค้างฮ่อ ตำบลสะกาด อำเภอปัว มีลักษณะเป็นหอยแครงสองฝา ดร.จงพันธ์ จงลักษณ์มณี นักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี สรุปว่า เป็นซากหอยที่มี ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า พาลีโอคาร์ดิต้า สปีชี่ (Paleocardita Species) อายุ 195-205 ล้านปี จัดอยู่ในยุคไทรแอสซิก (Triassic) ตอนปลาย

สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ
ชมพูภูคา ดอยภูคานับเป็นบ้านแห่งสุดท้ายของต้นชมพูภูคาพันธุ์ไม้หิมาลัย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ดร.ธวัชชัย สันติสุข ผู้เชี่ยวชาญพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กรมป่าไม้ เป็นผู้สำรวจพบเป็นครั้งแรกในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ทุกปีในเดือนกุมภาพันธ์ดอกชมพูภูคาจะผลิดอกตามปลายกิ่งเป็นช่อสีชมพูยาว 30-35 เซนติเมตร เมื่อบานจะทำให้ช่อดอกเป็นพุ่มสวยงาม ชมพูภูคาเป็นพันธุ์ไม้ที่เคยมีการสำรวจพบตามหุบเขาแถบมณฑลยูนนานทางตอนใต้ ของประเทศจีนและทางเหนือของเวียดนาม จากนั้นก็ไม่มีรายงานการค้นพบพืชชนิดนี้อีก พื้นที่ป่าดิบเขาดอยภูคาจึงอาจเป็นแหล่งกำเนิดสุดท้ายของชมพูภูคา ซึ่งเป็นไม้หายากใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่งของโลก จุดชมต้นชมพูภูคาที่เข้าถึงง่ายที่สุดอยู่ริมถนนห่างจากที่ทำการไป 5 กิโลเมตร
เส้นทางศึกษาธรรมชาติชมพูภูคา จัดไว้ 2 เส้นทาง คือ เส้นทางศึกษาธรรมชาติดอกชมพูภูคามีทั้งเส้นรอบใหญ่ ระยะทาง 4 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 3 ชั่วโมง และเส้นทางรอบเล็กระยะทาง 2 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 1.30 ชั่วโมง ซึ่งจะพบพันธุ์ไม้ที่หายากและพันธุ์ไม้เฉพาะถิ่น สมุนไพร เป็นต้น และเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าดึกดำบรรพ์ (ดอยดงหญ้าหวาย) ระยะทาง 7 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 5 ชั่วโมง เป็นแหล่งดูนก ที่มีนกไต่ไม้สีสวยที่พบเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย นกชนิดต่าง ๆ และผีเสื้อนานาพันธุ์ด้วย

ยอดดอยภูแว เป็นยอดดอยที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,837 เมตร มีลักษณะโดดเด่นเป็นทุ่งหญ้าบนดอย และมีลานหินและหน้าผาที่สูงชัน มีพันธุ์ไม้เฉพาะถิ่นที่หายาก เช่น ค้อ กุหลาบพันปี ในช่วงฤดูหนาวจะมีความสวยงามมาก การเดินทาง โดยทางรถยนต์ จากที่ทำการอุทยานฯ ไปถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติภูคา ที่ 9 (บ้านด่าน) ระยะทางประมาณ 63 กิโลเมตร และเดินทางเท้าขึ้นยอดดอยภูแวประมาณ 6 กิโลเมตร (มีลูกหาบไว้บริการ)

น้ำตกศิลาเพชร บ้านป่าตอง ตำบลศิลาเพชร น้ำตกลงมาจากหน้าผาหลายชั้นลดหลั่นกันไป เหมาะกับการเล่นน้ำ และมีผีเสื้อสีสวยให้ชมด้วย ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 71 กิโลเมตร การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 1080 สายน่าน-ปัว ก่อนถึงอำเภอปัว ตรงหลักกิโลเมตรที่ 41-42 มีทางแยกขวามือเข้าทางหลวงหมายเลข 1170 ไปประมาณ 10 กิโลเมตร เดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 10 เมตร

ถ้ำผาแดง หมู่ 11 บ้านมณีพฤกษ์ ตำบลงอบ เป็นถ้ำที่มีความยาวมากที่สุดในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงาม ยังมีน้ำตกและลำธารขนาดใหญ่ภายในถ้ำอีกด้วย ในอดีตถ้ำผาแดงเป็นฐานที่ตั้งหลบภัยของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ภายในถ้ำยังปรากฏร่องรอยของที่พัก เตียงนอนของทหาร เตียงนอนคนไข้ บางเตียงยังอยู่ในสภาพที่ใช้ได้ หลุมที่ฝังซ่อนอาวุธ เศษถาดอาหาร (ถาดหลุม) และเครื่องใช้ การเดินทาง ต้องเดินเท้าประมาณ 3 ชั่วโมง ลัดเลาะเนินเขา ซึ่งจะได้ชมความสวยงามของธรรมชาติ พันธุ์ไม้ และสัตว์ป่าต่าง ๆ บ้านม้งที่อาศัยอยู่อย่างธรรมชาติกลางหุบเขา

ถ้ำผาฆ้อง เป็นน้ำตกขนาดกลาง บริเวณปากถ้ำจะมีขนาดเล็ก ในถ้ำมีคูหาซึ่งมีหินงอกหินย้อย มีทางน้ำไหลผ่าน พื้นถ้ำเป็นดินเหนียวลื่นมาก ไม่ควรเข้าชมในช่วงฤดูฝนเพราะอาจมีน้ำท่วมในถ้ำ ควรติดต่อเจ้าหน้าที่นำทาง การเดินทาง ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 7 กิโลเมตร และต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร

น้ำตกต้นตอง เป็นน้ำตกหินปูนที่ห่างจากอุทยานฯ ประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงแยกบ้านเต๋ย ขับรถไปอีกประมาณ 800 เมตร เดินต่ออีกประมาณ 200 เมตร ซึ่งเป็นทางเดินลาดชัน น้ำตกต้นตองเป็นน้ำตกหินปูนขนาดกลางมี 3 ชั้น สูงประมาณ 60 เมตร บนโตรกผามีพืชชุ่มน้ำ เช่น ตะไคร่น้ำ เฟิร์นเกาะเขียวขจี ในหน้าน้ำน้ำตกจะสีขุ่นแดง

ยอดดอยภูแว เป็นยอดดอยที่มีความสูงชัน สูงจากระดับน้ำทะเล 1,837 เมตร เป็นเทือกเขาเดียวกับภูเขาอัลไต มีลักษณะโดดเด่น คือปราศจากต้นไม้ใหญ่ เป็นทุ่งหญ้าบนดอย อีกทั้งยังมีลานหินและหน้าผาสูงชัน เช่น ผาแอ่น ผาผึ้ง ดอยภูแว ค้นพบสุสานหอยซึ่งเป็นหอยทะเลอายุประมาณ 218 ล้านปี ที่บริเวณบ้านค้างฮ่อ อำเภอทุ่งช้าง การเดินทาง โดยรถยนต์จากที่ทำการอุทยานฯ ไปถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคาที่ 9 (บ้านด่าน) ระยะทางประมาณ 63 กิโลเมตร และเดินทางเท้าขึ้นยอดดอยภูแวประมาณ 8 กิโลเมตร มีลูกหาบบริการ

น้ำตกภูฟ้า เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา สูงประมาณ 140 เมตร มีทั้งหมด 12 ชั้น ใช้เวลาไป-กลับ และชมน้ำตกประมาณ 2 วัน ควรติดต่อเจ้าหน้าที่นำทาง

น้ำตกตาดหลวง อยู่ห่างจากบ้านทุ่งเฮ้า อำเภอปัว ประมาณ 1 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นปแอ่งน้ำตกที่สวยงาม นักท่องเที่ยวนิยมมาเล่นน้ำ และเป็นแหล่งอนุรักษ์ปลาพลวง

ล่องแก่งน้ำว้าตอนกลาง อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา เป็นเส้นทางล่องแก่งที่อยู่ในระดับ 3-5 มีประมาณ 20 กว่าแก่ง และเป็นสุดยอดแห่งความตื่นเต้น

อัตราค่าเข้าอุทยานฯ นักท่องเที่ยว ชาวไทย ผู้ใหญ่ ราคา 40 บาท เด็ก 20 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ ราคา 200 บาท เด็ก 100 บาท